วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ( องค์การมหาชน)




สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ( องค์การมหาชน)กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

การเตรียมการจัดตั้งเริ่มมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2537 เมื่อหน่วยงานพัฒนาหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ประชุมระดมความคิดเห็นหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดตั้งองค์กรเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ

S = ได้รับความร่วมจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
W = สื่อประชาสัมพันธ์ขององค์กร ยังไม่เปนที่รู้จัก
o = ได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชน ( จะทำให้องค์กรเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น )
T = เรื่องของการทำงานในส่วนต่างๆ ยังมีความล่าช้า
วัตถุประสงค์

๑. ชุมชนผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน
๒. องค์กรชุมชนและเครือข่ายมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองบนพื้นฐานทุนชุมชนท้องถิ่นอย่างสมดุล (ทุนตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน)
๓. สภาองค์กรชุมชนตำบลและเครือข่ายองค์กรชุมชนสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการการทำงานในพื้นที่
๔. ชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้เพื่อพัฒนาและขยายผลสู่ชุมชนอื่น ทั้งภายในและภายนอกประเทศ
๕. องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนมีขีดความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง
๖. ระบบบริหารจัดการขององค์กร พอช. มีความพร้อมสามารถรองรับและสนับสนุนงานของ พอช. และชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

1 ชายและหญิงอายุ 15-60 ในชุมชนต่างจังหวัดทั่วประเทศ

แนวคิด

เป็นองค์กรที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งของสังคมจากฐานราก ด้วยพลังองค์กรชุมชนและประชาสังคม

ข้อมูลสนับสนุน

๑. สนับสนุนและให้การช่วยเหลือแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนเกี่ยวกับ การประกอบอาชีพ การเพิ่มรายได้ การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมและการ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน ทั้งในเมืองและชนบท โดยยึดหลักการ พัฒนาแบบองค์รวมหรือบูรณาการและหลักการพัฒนาที่สมาชิกมีส่วนร่วมเป็นแนวทางสำคัญ ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและประชาสังคม
๒. สนับสนุนและให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน
๓. สนับสนุนและให้การช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนตลอดจนประสานงานการสนับสนุนและการให้การช่วยเหลือดังกล่าวจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
๔. ส่งเสริมและสนับสนุนและสร้างความร่วมมือองค์กรชุมชน ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัดและระดับประเทศ

อารมณ์และความรู้สึก

ความมีน้ำใจ / ความรัก / ความสามัคคี



ผลตอบสนอง

1. ชุมชนในชนบทต่างๆมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
2. สมาชิกในชุมชนได้รับความรู้เพิ่มพูนในเรื่องทำกิน การประกอบอาชีพ จาก องค์กร และสามารถ ขยายไปสู่ชุมชนอื่น





ชื่อเรื่อง โฆษณา Nike Wright the Future Campaign

SWOT


S โฆษณา มีความชัดเจน สื่อสารได้ เข้าใจง่าย
w ไม่เป็นที่นิยมสำหรับ คนที่ไม่ชื่นชอบกีฬาฟุตบอล
O มีซุปเปอร์สตาร์ฟุตบอล เป็นพรีเซนเตอร์เพื่อดึงดุดความสนใจ
T มีข้อจำกัดในเรื่องประเภทของกีฬา

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความประทับใจในตัวสินค้าแก่ผู้พบเห็น
2. เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับตัวสินค้า
3. เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับ ตัวสินค้าและ แบรนด์

กลุ่มเป้าหมายหลัก

เพศชาย และ ญ ที่รักการเล่นกีฬาฟุตบอล อายุ 15-35 ปี

แนวความคิด
Wright The Future

เหตุผลสนับสนุนแนวคิด

สร้างความเป็นตำนาน ด้วยตัวเอง เขียนอนาคตของคุณเอง จากภาพใน Ads ผู้สื่อ ต้องการจะสื่อถึง ความเป็นตำนาน ด้วย การ นำ ซุปเปอร์สตาร์ฟุตบอลระดับโลก มา เป็นพรีเซนเตอร์ ด้วยการนำภาพ ซุปเปอร์สตาร์เหล่านั้น มา ทำเป็นรุปปั้นหิน

อารมณ์และความรู้สึก

1 น่าเชื่อถือ
2 ความยิ่งใหญ่
3 มีอำนาจ

ผลตอบสนอง

ได้รับความสนใจจากผู้พบเห็นเปนอย่างมาก ใน ช่วงฟุตบอลโลก 2010

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนวโน้มการนำเสนอผลงาน นิเทศศาสตร์ โฆษณา New media



New Media หมายถึง การโฆษณาโดยใช้สื่อ รูปแบบ หรือวิธีนำเสนอใหม่ๆที่แตกต่างไปจากสื่อ หรือวิธีการทั่วๆไปที่เคยใช้กันอยู่ เพื่อเพิ่มความสนใจในการรับรู้ข่าวสารที่นำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมาย

ประเภทของ New Media ออกมาเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.เป็นการใช้สื่อโฆษณาใหม่ที่ยังไม่เคยถูกใช้มาก่อน (New Type of Media)
การโฆษณาผ่าน internet ไม่ว่าจะในรูปของการทำ Web site ของบริษัท Banner Ad ใน Web ถือได้ว่าเป็น New Media ปัจจุบัน สื่อประเภทนี้แม้ว่าจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแต่ตลาดผู้ใช้ Internet ก็ยังคงอยู่ในวงจำกัด เม็ดเงินโฆษณา ในสื่อประเภทนี้ รวมทั้งความรู้ความชำนาญของ Advertising Agency ก็ยังจำกัดอยู่ ทำให้ยังมีโอกาสที่จะสร้างความแปลกใหม่ให้สินค้าด้วยสื่อนี้ได้ เพียงแต่ต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปให้มากในการจะทำให้สื่อนี้มีความแปลกใหม่กว่า Web หรือ Banner ธรรมดา

2.เป็นการอาศัยสภาพแวดล้อม ทำเล หรือลักษณะเฉพาะของสื่อโฆษณาแบบเดิมๆที่มีอยู่ของสื่อมาปรับให้เข้ากับ..หรือรูปแบบของโฆษณาที่นำเสนออย่างสอดคล้องกัน เพื่อเรียกร้องความสนใจ และสร้างความเข้มแข็งให้ข้อความที๋โฆษณา

3.เป็นการหาวิธีใหม่ๆในการนำเสนอที่ต่างไปจากวิธีการเดิมๆ แต่วิธีการนำเสนอใหม่ๆนี้ สอดคล้องหรือเพิ่มน้ำหนักให้กับการนำเสนอ เช่น โปสเตอร์โฆษณาเชิญชวนให้คนบริจาคดวงตาของสภากาชาดอินเดียที่ติดอยู่ตามที่สาธารณะทำโดย สื่อเป็นรูปเด็กตาบอด ยืนหน้าตรง มีข้อความเขียนว่า “ถ้าคุณเข้ามาใกล้พอ และมองตาเขา บางทีคุณอาจจะได้เห็นตาคุณในตาของเขา” ถ้าเราเข้าไปมองดวงตาที่มองไกลๆจะเป็นเป็นรูอยู่ เราจะมองเห็นเงาของดวงตาเรา เพราะเขาเอากระจกเงาติดไว้ในตำแหน่งที่เป็นดวงตาของเด็กตาบอดในโปสเตอร ในยุโรปเองเคยมีโฆษณาในโรงภาพยนตร์ ของสินค้าหนึ่งที่ตัวแสดงในโฆษณาหันมาทะเลาะกับผู้ชมในโรง โดยบริษัทโฆษณามีการจ้างหน้าม้าให้เข้ามานั่งในโรง เพื่อทะเลาะกับคนในจอภาพยนตร์โดยมีบทสนทนาที่สอดคล้องเป็นเรื่องเป็นราว ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอที่น่าสนใจ

4. เป็นการนำสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนทั่วๆไป ที่ไม่น่าจะเป็นสื่อโฆษณาได้มาปรับใช้เป็นสื่อโฆษณา เช่น การโฆษณาหลัง สลิบ ATM หรือใบเสร็จที่ซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือในญี่ปุ่นมีการตีพิมพ์โฆษณาบนกระดาษชำระที่ให้บริการในห้องน้ำสาธารณะโดยมีแนวคิดว่า ระหว่างอยู่ในห้องสุขาลูกค้าจะว่างไม่มีอะไรทำ การโฆษณาบนกระดาษชำระจึงน่าจะถูกอ่านมากกว่าสื่อปกติ

New Media ณ วันนี้ เป็นแค่การเริ่มต้นเท่านั้นในยุคที่ตลาดมีการแบ่งกลุ่มลูกค้าอย่างชัดเจน สื่อโฆษณาที่มีลักษณะ Mass Media แบบเก่าๆดูจะไม่ค่อยได้รับความสนใจจากลูกค้ามากเท่าที่ควรและด้วยธรรมชาติของบริษัทโฆษณา และวงการการตลาดที่มองหาสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ New Media น่าจะเป็นคำตอบที่น่าสนใจและยังมีช่องว่างให้นักคิดในวงการโฆษณาและการตลาด หาวิธีการและสื่อใหม่ๆในการนำเสนอต่อกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ